เอื้องสีตาล / -

ประวัติการค้นพบ: ตั้งชื่อโดย Nathaniel Wallich นักพฤกษศาสตร์ชาวเดนมาร์ก แต่ไม่ถูกหลักตามกฏการตั้งชื่อ ภายหลัง John Lindley นักกล้วยไม้ชาวอังกฤษ มาตีพิมพ์ให้ถูกหลักการตามกฏการตั้งชื่อสากล ในปี ค.ศ. 1830 ที่มาชื่อไทย: กลีบดอกออกสีเหลืองอมน้ำตาล ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:กล้วยไม้อิงอาศัย ลำลูกกล้วยทรงกระบอก โคนและปลายสอบ ยาว 15-30 ซม. ใบ รูปหอก กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 10-16 ซม. ดอก ออกเป็น ช่อสั้น ๆ ตามข้อของลำลูกกล้วย ช่อดอก มี 2-5 ดอก ดอกบานเต็มที่กว้าง 4-5 ซม. มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีสีขาวนวลถึงน้ำตาลอมเหลือง กลีบปากสีเหลืองถึงน้ำตาลเข้มและมีเส้นสีน้ำตาลพาดตามยาว นิเวศวิทยา: พบตามป่าดิบที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป เกือบทุกภาค ยกเว้นภาคกลาง ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม การกระจายพันธุ์: เป็นพืชพื้นเมืองในเทือกเขาหิมาลัย ยูนนาน เนปาล รัฐอัสสัม อินเดีย ศรีลังกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ: สถานภาพทางการอนุรักษ์: พบน้อยลงมากในธรรมชาติ เอกสารอ้างอิง:เอื้องสีตาล - วิกิพีเดีย (wikipedia.org) เอื้องสีตาล | Dendrobium heterocarpum Lindl. : BGO Plant Database-ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ (qsbg.org)


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Dendrobium heterocarpum Wall. ex Lindl.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง